Line ID : soapstation
Soapstation Facebook Soapstation.info
   
หน้าบ้าน สินค้าและบริการ วิธีการสั่งซื้อ มุมแบ่งปัน ติดต่อเรา
หน้าบ้าน สินค้าและบริการ วิธีการสั่งซื้อ มุมแบ่งปัน ติดต่อเรา
 
 
       

สินค้ามาใหม่
Single Mold
Tray Mold
Loaf Mold
Soap Stamp
ที่ตัดสบู่
อุปกรณ์
วัตถุดิบ
สารเติมแต่ง
สมุนไพร
น้ำหอม,น้ำมันหอมระเหย
Colorants
บรรจุภัณฑ์
สิีนค้าอื่นๆ
สินค้าลดราคา
สินค้าทั้งหมด

.................................................

ค้นหาพัสดุไปรษณีย์
 

Kerry express

ค้นหาพัสดุ JT express

NIM Express
...............................................

สีสะท้อนแสง
 

สีน้ำสบู่ MP

Line-SoapStation

   
 
ว่าด้วยเรื่องสบู่เหลว
ก่อนจะไปถึงตัวอย่างการทำสบู่เหลว ขออนุญาตแบ่งปันข้อมูลตามที่เข้าใจและค้นมาสักนิดนะคะ

สบู่เหลวอาบน้ำ สำหรับคนทำสบู่หลักๆ จะพูดถึง 2 ประเภทนี้คือ
1. สบู่เหลวแบบยาก คือเริ่มต้นไม่มีอะไรที่ใกล้เคียงกับสบู่มาก่อนเลย แต่อาศัยการทำปฏิกิริยาระหว่างน้ำมัน
และด่างชนิดหนึ่งคือโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) วิธีการค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อน

2. สบู่เหลวแบบง่าย ใช้สารชะล้าง (Detergent) เป็นสารตั้งต้น สังเกตง่ายๆ คือหากพบคำว่า "หัวเชื้อ" เมื่อไหร่
ก็แสดงว่าใช้วิธีนี้ค่ะ   วิธีการก็ง่ายสมชื่อคือเทๆ กวนๆ ผสมๆ   สารบางตัวอาจต้องการความร้อนเพื่อหลอม แต่ก็
ถือว่าง่ายเทียบกับแบบแรก
                                    (As of May2020 : ชุดทดลองทำสบู่เหลวอาบน้ำมีจำหน่ายแล้วที่นี่จ้า)

วันนี้ขอพูดถึงเฉพาะแบบง่ายนี้กันก่อนนะคะ .....................................................................................................................................................

สบู่เหลว        สบู่เหลวสำหรับอาบน้ำที่มีขายอยู่ในท้องตลาด น่าจะ 90%
ขึ้นไปหรืออาจเกือบทั้งหมด (หยิบสบู่เหลวมา 10 ยี่ห้อดูจาก
ฉลากหลังขวดก็ใช่เกือบทุกยี่ห้อนั่นแล) เป็นแบบง่าย คือใช้
สารชะล้าง หรือ Detergent เป็นวัตถุดิบหลักค่ะ

ไม่ได้บอกว่ามันดีหรือไม่ดี เพียงแต่เป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่ง

       Detergent มีอยู่หลายตัวหลายแบบ คุณสมบัติแตกต่างกัน
เช่น ฟองมาก-น้อย / ประสิทธิภาพการทำความสะอาด
มาก-น้อย / อ่อนโยนหรือระคายเคือง / ปลอดภัยหรือเป็นพิษ
ในระยะยาว / ราคาถูก-แพง เป็นต้น

       จะทำผลิตภัณฑ์ใดก็เลือกคุณสมบัติให้เหมาะ เช่นน้ำยา
ซักผ้า ไม่ต้องอ่อนโยนมากก็ได้ เน้นสะอาด ฟองก็ไม่ต้องเยอะ
จะได้ล้างออกง่าย   และอาจต้องเพิ่มสารอื่นๆ เช่นเติม Enzyme
ที่ย่อยโปรตีนได้ คราบต่างๆ จะได้หลุดออกง่ายขึ้น เป็นต้น


       Detergent บางตัวอาจมีคุณสมบัติดีครบ บางข้ออาจด้อยสักนิดแต่ยอมรับได้หรือผ่านเกณฑ์ ก็จะใช้ทำผลิตภัณฑ์
ได้แบบครอบจักรวาล เช่น N70 พระเอกเลยตัวนี้ฟองเยอะ ทำความสะอาดเยี่ยม ปลอดภัยกว่ากลุ่ม SLSที่สำคัญราคาถูก
และสามารถปรับให้เนื้อข้นได้ด้วย NaCl ซึ่งก็ราคาถูกอีก   แต่ข้อเสียคือไม่อ่อนโยนกับผิว ก่อให้เกิดการระคายเคืองได้

       เมื่อผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมีพื้นฐานเดียวกันแบบนี้ จึงไม่แปลกที่เวลาไปพักโรงแรมบางที่จะให้สบู่ขวดเดียว
แต่ใช้ทั้งอาบน้ำและสระผม   หรือบางทีเราก็ใช้ของพวกนี้ปนกันโดยไม่รู้ตัว เช่นเอาน้ำยาล้างจานมาล้างมือ
ยิ่งตอนนี้มีการเติมสารบำรุงโน่นนี่ในน้ำยาล้างจาน  คาดว่าอีกหน่อยจะเอามาอาบน้ำได้อีก (อิอิ!! ล้อเล่นนะคะ)

       สำหรับการทำสบู่เหลวอาบน้ำ นอกจาก N70 เป็นสารชะล้างหลักแล้ว ในสูตรจะมีสารชำระล้างรองด้วยเพื่อเสริม
ข้อด้อยที่ตัวหลักไม่มี  เช่นทำความสะอาดได้อย่างอ่อนโยน, ให้ความชุ่มชื้นกับผิว, ให้ฟองละเอียดนุ่ม   สารชะล้าง
ที่นำมาใช้ทำสบู่เหลวและมีคุณสมบัติแนวๆ นี้ก็เช่น Cocamidopropyl betaine (CAPB), ตระกูล Glucoside ทั้งหลาย
เช่น Lauryl Glucoside, Caprylyl/Decyl Glucoside, Coco Glucoside เป็นต้น

ส่วนประกอบนอกเหนือจากนี้สำหรับสบู่เหลวอาบน้ำ ก็มีสารปรับแต่งคุณสมบัติต่างๆ ของสบู่เหลว เช่น เพิ่มฟอง/ เพิ่ม
ความคงตัวของผลิตภัณฑ์/ กักเก็บความชุ่มชื้น/ บำรุง/ ให้กลิ่นหอม/ กันเสีย ฯลฯ มีเยอะแยะตาม Need ของคนเรา
ที่ไม่สิ้นสุดนั่นเอง ฮาฮา ~

     มาถึงสบู่เหลวที่จะทำเป็นตัวอย่างวันนี้เสียที   ...เฮ้อ เหนื่อย...

เรียกว่าเป็นสบู่เหลวอาจไม่ตรงนัก เป็นน้ำยาทำความสะอาดเอนกประสงค์ดีกว่านะคะ  เพราะจะใช้ N70 เป็นสาร
ชำระล้างหลักตัวเดียวเท่านั้น ไม่มีตัวช่วยอื่นๆ ที่ทำความสะอาดแบบอ่อนโยน ไม่นุ่มไม่เนียนใดๆ ทั้งสิ้น
คือเอาให้ทำเป็นพอเห็นภาพ ทำเป็นก่อนน่ะ  อยากทำสบู่เหลวง่าย ๆ ใช้วัตถุดิบน้อยๆ   แต่ให้ดี 108 อย่างด้วย
มันช่างย้อนแย้ง 555!

ไว้รอบหน้าค่อยว่ากันเรื่องการทำสบู่เหลวอาบน้ำ

ที่จะทำสบู่เหลววันนี้ เอาไว้ล้างมือ / ล้างได้ทุกอย่างยกเว้นใช้อาบ
วัตถุดิบ ทั้งหมดมีดังนี้ค่ะ ทำได้ประมาณ 100 g. (ข้อ 1-3 จำเป็นต้องมี // 4-7 ไม่ต้องใช้ก็ได้)
1 . N70 = 25 g.
2 . เกลือ 4 g. (ธรรมดานี่แหละค่ะ แบบใช้ทำกับข้าว)
3 . น้ำเปล่า 75 g.
4 . Tween-20 = 10 g.
5 . สารกันเสียที่ละลายน้ำได้ เช่น Phenoxyethanol 0.5 g.
6 . สี
7 . กลิ่น

สบู่เหลว สบู่เหลว
1.  ชั่ง N70 = 25-30 g. (อันนี้ใช้เยอะมากแล้ว ถ้าสบู่ที่ใช้กับตัวน่าจะใช้ 5-10%) เติมน้ำเปล่าให้เป็น 100 g.
2.  ละลายให้เข้ากัน ขั้นตอนนี้ยากที่สุด อาจอุ่นสัก 60'C หรือใช้เครื่องปั่นช่วย ฟองจะฟอดหน่อยค่ะใจเย็นๆ
สบู่เหลว สบู่เหลว สบู่เหลว
3.  ทิ้งไว้ให้ใส ใช้เวลานานเป็นชั่วโมงเหมือนกันค่ะ ไปตลาด-ทำกับข้าวก่อนได้เลย
4.  เติม Tween-20 = 10 g. ถ้าไม่มีข้ามเลยจ้ะ
5.  Check pH เสียหน่อยว่าอยู่ช่วงไหน ดูแล้วกำลังดี
     Detergent บางตัวเป็นกรดมาก ใส่เข้าไปเพิ่มจากสูตรนิดเดียวนึกว่า OK แต่กัดอ่างล้างจานจนเป็นสีน้ำตาลเลย
สบู่เหลว สบู่เหลว
6.  เติมเกลือ 4 g. คนให้ละลาย   สบู่เหลวจะเริ่มหนืดข้น
7.  เติม - สี เอาแบบละลายน้ำได้ / หรือละลายน้ำมันได้ ใช้ได้ทั้งสองแบบนะคะ
            - กลิ่นก็เติมพอให้หอม เติมเล็กน้อยจะไม่ทำให้สบู่ขุ่น
            -  สารกันเสีย เลือกแบบที่ละลายน้ำได้เช่น Phenoxyethanol ซึ่งใช้แค่ 0.5% อย่างมาก แทบจะนับหยด
                แต่ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องเติมก็ได้ค่ะ ก็รีบใช้งานให้หมด
สบู่เหลว

8.  ทิ้งไว้ข้ามคืนก็ใส พร้อมใช้งานได้แล้วค่ะ
อารมณ์จะประมาณนี้แหละค่ะการทำสบู่เหลวแบบง่าย จากสารชะล้าง   จับวัตถุดิบมาผสมๆ กัน
ใน Process จริงความซับซ้อนอยู่ที่ลำดับการผสม, pH , อุณหภูมิ เพราะบางตัวต้องเติมก่อน, บางตัวต้อง pH ต้องเป็น
ด่างถึงจะทำงาน เช่นพวกสารปรับข้นบางชนิด, บางตัวทำให้สูตรขุ่นถ้าเติมผิดลำดับขั้นตอน เป็นต้น
 

รอบหน้าถ้ามีโอกาสจะมาลองทำสบู่เหลวสำหรับอาบน้ำนะคะ  ต้องใช้วัตถุดิบเยอะน่ะรวบรวมยากหน่อย
(จะว่าไปซื้อเอาง่ายกว่านะ 1แถม1 บ่อยๆ ด้วยหลายยี่ห้อเลย ตามประสาคนขี้เกียจนะ ^^)

เจอกันใหม่เด้อ

SoapStation.info
ส.ค.62
 
 
หน้าบ้าน
Soap Station
.:: The Must Stop Place for Soaper ::.