Line ID : soapstation
Soapstation Facebook Soapstation.info
   
หน้าบ้าน สินค้าและบริการ วิธีการสั่งซื้อ มุมแบ่งปัน ติดต่อเรา
หน้าบ้าน สินค้าและบริการ วิธีการสั่งซื้อ มุมแบ่งปัน ติดต่อเรา
 
 
       

สินค้ามาใหม่
Single Mold
Tray Mold
Loaf Mold
Soap Stamp
ที่ตัดสบู่
อุปกรณ์
วัตถุดิบ
สารเติมแต่ง
สมุนไพร
น้ำหอม,น้ำมันหอมระเหย
Colorants
บรรจุภัณฑ์
สิีนค้าอื่นๆ
สินค้าลดราคา
สินค้าทั้งหมด

.................................................

ค้นหาพัสดุไปรษณีย์
 

Kerry express

ค้นหาพัสดุ JT express

NIM Express
...............................................

สีสะท้อนแสง
 

สีน้ำสบู่ MP

Line-SoapStation

   
 
Pigment (ผงสี) ต้องละลายน้ำก่อนใช้งานไหม ???
 
 

ช่วงนี้เข้าพรรษา มีเทียนเพียบ ได้เวลานั่งเทียนเขียนบทความกันอีกแล้วค่ะ

"ผงไมก้านี่ต้องละลายน้ำก่อนใช้งานไหม?"  เป็นคำถามที่นิยมถามมากเป็นอันดับ 2 (อันดับ 1 คือ มีส่วนลดไหม)

ก่อนจะตอบคำถามนี้ อยากแนะนำให้รู้จัก Technical Term สักคำสองคำก่อนนะคะ  (อ่านบทความของ SoapStation
ต้องทำใจน่ะ พาไปเรื่องยากตลอด   บทความนี้อาจจะยาวหน่อย แต่รับรองว่าถ้าอ่านจบแล้วจะทำสบู่ด้วยความ
สบายใจขึ้นเยอะค่ะ...)
.....................................................................................................................................

" Mixtures "   Mixtures คือของผสม  อะไรก็ตามตั้งแต่ 2 อย่างมาผสมกัน สามารถเรียกว่าของผสมได้หมด

" Components"   Components ก็ใช้เรียกแทนของแต่ละอย่างที่นำมาผสมกันนั่นเอง
.....................................................................................................................................

เอาละนา เริ่มเข้าเรื่องกันเลย

Mixtures แบ่งได้เป็น 2 ประเภทกว้างๆ   คือ ของผสมที่ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน (Heterogeneous Mixtures) และ
ของผสมที่เป็นเนื้อเดียวกัน (Homogeneous Mixture)...

อ๊ะๆ อย่าเพิ่งเบือนหน้าหนี กลั้นใจหน่อยนะคะ ^^!

เราแทนด้วยคำสั้นๆ ก็แล้วกันว่า Hetero = ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน / Homo = เป็นเนื้อเดียวกัน   เอาอย่างนี้ก่อน
เกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่งของผสม ว่าอันไหนเป็น Hetero หรือเป็น Homo ใช้ 4 ข้อหลักนี้ค่ะ

Hetero
  แต่ละ Component แค่อยู่รวม/ปนกัน แต่ไม่เกิดปฏิกิริยาทางเคมีระหว่างกัน
 มองเห็นว่า ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน (ไม่ว่ามองด้วยตาเปล่า หรือมองผ่านเครื่องมือเช่น กล้องกำลังขยาย)
  แต่ละ Zone ของ Mixtures มีคุณสมบัติไม่สม่ำเสมอ (เทียบง่ายๆ เหมือนแกงเขียวหวานไก่น่ะ  ถ้าใช้ทัพพีตักด้านบน
   ก็ได้แต่น้ำแกง ต้องเลือกตักก้นๆ หม้อถึงจะมีเนื้อไก่เยอะใช่ไหมล่ะ   นั่นคือแกงเขียวหวานไก่เป็นของผสมแบบ
   Hetero เพราะด้านบนกับตรงก้นหม้อมีคุณสมบัติไม่เหมือนกัน)
  สามารถแยกแต่ละ Component ออกจากกันได้ง่ายๆ แบบ Phisical Method เช่น ริน/กรอง/เขย่า (เช่น การฝัด    
   เพื่อแยกข้าวเปลือกออกจากเมล็ดข้าว) / แกว่งให้ Component ตกตะกอนหรือแยกชั้น  เป็นต้น

   ตัวอย่าง Mixtures แบบ Hetero เช่น นม , น้ำสลัด , ทราย , มายองเนส


ดังนั้น ของผสมแบบ Homo ก็จะมีคุณสมบัติตรงกันข้าม คือ
Homo

  แต่ละ Component ผสมกันในระดับอะตอมหรือโมเลกุล มีการทำปฏิกิริยาทางเคมีระหว่างกัน
 เห็นเป็นเนื้อเดียวกัน มองไม่เห็นขอบเขต หรือ Boundary ระหว่างแต่ละ Component
  แต่ละ Zone ของ Mixture มีคุณสมบัติสม่ำเสมอ  ตักส่วนไหนมาก็เหมือนกันหมด
  ไม่สามารถแยกแต่ละ Component ออกจากกันได้ด้วยวิธีการทาง Physical  ซึ่งของผสมหรือ Mixtures แบบ
     Homo นี้ เรียกได้อีกอย่างนึงว่า "Solution" หรือสารละลายนั่นเองค่ะ  ตัวอย่าง Mixtures ประเภทนี้เช่น
     สารละลายน้ำตาล (น้ำตาล+น้ำ) , น้ำเกลือ (เกลือ+น้ำ)
.....................................................................................................................................
จากข้อมูลพื้นฐานนี้ ทำให้เราทราบว่า  "ละลาย" น่ะเป็นคำที่มีนัยยะ ตามหลักการแล้วจะใช้กับ Mixtures ประเภท Homo
เท่านั้นค่ะ    หากเป็น Mixture ประเภท Hetero มักจะใช้คำว่า "กระจายตัว" (suspend หรือ disperse)

งั้นให้เดา   Mixtures ระหว่างผงไมก้าและน้ำ เป็น Hetero หรือ Homo เอ่ย ???? 
. . .
. .
.
เป็น Hetero ถูกต้องจ้าาาาา!!! เพราะผงไมก้าไม่ทำปฏิกิริยาเคมีกับน้ำ เขย่าๆ อาจดูเหมือนเป็นเนื้อเดียวกัน แต่ทิ้งไว้
ก็ตกตะกอนนอนก้น ทำให้เราสามารถแยกไมก้าออกจากน้ำได้ด้วยวิธีทิ้งไว้ให้ตกตะกอนแล้วค่อยรินน้ำออก
เข้าข่ายหลักเกณฑ์ Hetero ทุกอย่างใช่ไหมคะ

งั้นอีกคำถามนึง   ผงไมก้า "ละลาย" ในน้ำไหม ???? (อันนี้ไม่เฉลยนะ อิอิ)
.....................................................................................................................................
มาถึงตอนนี้  หลายท่านอาจสงสัยว่า ตกลงหลอกให้อ่านตั้งยืดยาวทำไมกัน

มา! สรุปให้ฟัง   สิ่งที่อยากจะบอกก็คือ ...

       Mixtures ระหว่างผงสีประเภทต่างๆ (ทั้งไมก้า , Iron Oxide, Lake , Glitter , สีสะท้อนแสง) กับตัวทำละลายพื้นฐาน
จำพวก น้ำ ,น้ำมัน , แอลกอฮอล์ , Liquid glycerin ที่เป็นวัตถุดิบทั่วไปในการทำสบู่นั้น ในสภาวะปกติไม่ใช่ของผสมแบบ Homo  คือจะ "ไม่ละลาย" เป็นเนื้อเดียวกันทั้งหมดกับตัวทำละลาย  เพราะมันเป็นของผสมแบบ Hetero คือ
ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน ทิ้งไว้แล้วตกตะกอน

ดังนั้นไม่ต้องตกใจหากขวดสีที่เตรียมไว้มีตะกอนนอนก้น  เป็นเรื่องปกตินะคะ  
คิดเสียว่ามันคือ Salad Dressing น่ะ น้ำสลัดที่แยกชั้น จะกินให้อร่อยก็ต้อง
เขย่า    ผงสีจะใช้ให้ดี ก็ต้องคนให้เข้ากันก่อนใช้งาน

สีบางประเภทอาจกระจายตัวง่ายโดยไม่ต้องผสมกับตัวทำละลายก่อนเลยก็ได้ สามารถเติมเป็นผงดิบๆ ลงในสบู่ได้เลย เช่น สีไมกา (กรณีที่ยังเห็นเป็นเม็ดสี ในสบู่ก็แสดงว่าเราผสมให้มันกระจายตัวได้ไม่ดีพอ ทำให้ผงสียังเกาะเป็นก้อน ในสบู่)

บางคนบ่นว่า ผสมสียังไงก็ไม่เนียนอยู่ดี  ไม่มีมั่งรึตัวกลางประเภทที่ "ละลาย" สีได้เป็นเนื้อเดียวกันเลยน่ะ ...
จะว่าไปตามทฤษฏีมันก็มีอยู่  แต่มักจะต้องใช้สภาวะที่ Extreme สุดๆ เช่น อุณหภูมิสูง , pH ต่ำมากๆ (กรดแก่จัด) ,
เติมสารเคมีบางตัวช่วยในการทำละลาย ฯลฯ    ไหวเรอะแบบนี้ - -!

ทิ้งท้ายไว้ด้วยรูปนี้  รอบหน้าอาจมาต่ออีกนิดว่าผงสีแต่ละประเภท ชอบอยู่กับตัวทำละลายแบบไหน
แล้วเจอกันใหม่นะคะ

(หมายเหตุ : สรุปเนื้อหาจาก https://www.youtube.com/watch?v=ewQbkXtwAZc เข้าไปชมกันได้หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมนะคะ)

 

สิงหาคม 58 

 
หน้าบ้าน
Soap Station
.:: The Must Stop Place for Soaper ::.