Line ID : soapstation
Soapstation Facebook Soapstation.info
   
หน้าบ้าน สินค้าและบริการ วิธีการสั่งซื้อ มุมแบ่งปัน ติดต่อเรา
หน้าบ้าน สินค้าและบริการ วิธีการสั่งซื้อ มุมแบ่งปัน ติดต่อเรา
 
 
       

สินค้ามาใหม่
Single Mold
Tray Mold
Loaf Mold
Soap Stamp
ที่ตัดสบู่
อุปกรณ์
วัตถุดิบ
สารเติมแต่ง
สมุนไพร
น้ำหอม,น้ำมันหอมระเหย
Colorants
บรรจุภัณฑ์
สิีนค้าอื่นๆ
สินค้าลดราคา
สินค้าทั้งหมด

.................................................

ค้นหาพัสดุไปรษณีย์
 

Kerry express

ค้นหาพัสดุ JT express

NIM Express
...............................................

สีสะท้อนแสง
 

สีน้ำสบู่ MP

Line-SoapStation

   
 
รู้จักสบู่แบบล้วงลับตับแตก!!
 
  เคยอ่านผ่านๆตา มีคนเขาว่าเอาไว้ว่า
คำว่า "สบู่" มาจากตัวย่อของคำว่า Saponification ซึ่งเป็นชื่อของปฏิกิริยาทางเคมี หรือสบู่ในภาษาลาตินเรียก
Sapo อันนี้ก็ไม่รู้ว่าจริงเท็จอย่างไรนะ แต่หลายๆ ภาษาก็เรียกสบู่กันแนวๆ นี้เช่น Sapun, Savon, Sápu, Sabun

แต่ในมุมมองทางเคมี สบู่เป็นผลผลิตที่ได้จากปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสของไขมันในตัวกลางที่เป็นด่างหรือปฏิกิริยา
Saponification นั่นแหละค่ะ

อีกนัยหนึ่งคือ ถ้าไขมันเจอกับด่างไม่ว่าจะเป็นสารละลาย NaOH(โซเดียมไฮดรอกไซด์) , KOH(โพแทสเซียม
ไฮดรอกไซด์) หรือน้ำขี้เถ้าก็เกิดสบู่ได้ทั้งสิ้น

ทีนี้ลองตัดเรื่องสบู่ออกไปจากชีวิต คิดเสียว่าไม่เคยรู้จักสบู่มาก่อน แต่มาดูสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ ตอนที่น้ำมัน
กับด่างมาเจอกัน

น้ำมัน(Oil) และไขมัน(Fat) ทั้งจากพืชและสัตว์ จัดเป็นกลุ่ม Lipid ซึ่งเป็นสารชีวโมเลกุลในธรรมชาติและในสิ่งมีชีวิต
(ลองก้มดูที่หน้าท้องของตัวเองได้จ้ะ ของใกล้ตัว) ถ้าเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้องก็เรียก oil แต่ถ้าเป็นของแข็ง
ก็เรียกว่า fat หรือ butter

โมเลกุลที่พบหลักๆ ในไขมันและน้ำมันได้แก่ไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งจะมีรูปร่างโดยทั่วไปประมาณนี้ค่ะ


 
ไตรกลีเซอไรด์

ถ้าอธิบายโดยอ้างอิงจากรูปนี้ ในไขมันหรือน้ำมัน 1 โมเลกุล ประกอบด้วยแกนกลาง , หัว และหางที่เป็นเส้นยาวๆ

แกนกลาง (สีเหลือง) :  เป็นอะตอมของ C (คาร์บอน) และ H (ไฮโดรเจน) ล้วนๆ (ส่วนนี้ภายหลังจะกลายร่าง
                                   เป็นกลีเซอรีน)

หัว (สีฟ้า) :  เป็นส่วนที่แสดงเอกลักษณ์ เรียกเป็นภาษาทางเคมีว่าหมู่ฟังก์ชันซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดกลไก
                   หรือปฏิกิริยาต่างๆ

หางยาวๆ (สีชมพู) :  ประกอบด้วย C และ H ต่อกันเยอะๆ เป็นสายโซ่ยาว  ในธรรมชาติมักพบ C หรือคาร์บอน
                                16-18 ตัวต่อกัน อาจด้วยพันธะเดี่ยวทั้งหมด  หรือมีพันธะคู่ด้วยก็ได้

 

พันธะเดี่ยว คือคาร์บอนทั้ง 16-18 ตัวนั้น มันจะจับกันแบบนี้  -C-C-C-C-  เป็นที่มาของคำว่า "อิ่มตัว" คือไม่มีแขนว่าง
พอจะไปจับกะใครเขาได้อีก

แต่ถ้าพันธะคู่ คือบางตำแหน่งจะจับกันแบบนี้  -C-C=C-C-  และก็เลยเป็นที่มาของคำว่า "ไม่อิ่มตัว" คือยังมีแขนว่าง
ซ่อนอยู่  สามารถจะเอื้อมไปดึงบุคคลที่สามเข้ามาในชีวิตได้เสมอถ้าโอกาสเหมาะสมนะ

เฉพาะส่วนหัวสีฟ้ารวมทั้งหางด้วยนี้ เราเรียกมันว่ากรดไขมัน(Fatty acid) ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้น้ำมันแต่ละชนิด
แตกต่างกันค่ะ    ใน 1 โมเลกุล หาง 3 เส้นนี้อาจเหมือนหรือต่างกันก็ได้นะคะ เช่นแบบนี้

เช่นแบบนี้       ไตรกลีเซอไรด์  
  หรือจะเป็นแบบนี้     ไตรกลีเซอไรด์

สังเกตดูจะเห็นว่าทั้งสองรูปบน มี fatty acid สามเส้น คือเขียว ชมพู และเทา แต่อยู่ในลำดับที่แตกต่างกัน ทำให้
คุณสมบัติของไตรกลีเซอไรด์ทั้งสองโมเลกุลนี้จะต่างกันทันที แม้มันจะประกอบด้วยหางสีเขียว เทา และชมพู
ที่เหมือนๆ กันก็ตาม

ชนิดและลำดับของ fatty acid  นี่ล่ะที่ส่งผลต่อคุณสมบัติของสบู่ว่าจะให้ฟองมาก-น้อย , สบู่ก้อนแข็ง-อ่อน เป็นต้น

ลองดูซิว่า พอไขมันหรือน้ำมันมาเจอกับด่าง (ในที่นี้คือโซเดียมไฮดรอกไซด์) จะเกิดอะไรขึ้น

saponification

นั่นไงคะ! เห็นโมเลกุลที่รูปร่างเหมือนดักแด้รึเปล่า  นั่นแหละสบู่ของเราล่ะ

ด่างจะวิ่งเข้าไปจับคู่กับหางทั้ง 3 ของไขมัน    ด่าง 1 โมเลกุลก็จับคู่กับหางยาวๆ 1 เส้น ดังนั้นต้องใช้ด่าง 3 โมเลกุล
จึงจะครบคู่พอดี  พร้อมกับได้สารอีกตัวหนึ่งแถมมาเป็นผลผลิตด้วย มันก็คือกลีเซอรีนนั่นเองค่ะ 
ในสบู่ CP กลีเซอรีนจะยังอยู่ในเนื้อสบู่เต็มที่ แต่ในการผลิตเชิงอุตสาหกรรมมันจะถูกสกัดออกไปเพื่อนำไปใช้
ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ

ในทางเคมีโมเลกุลสบู่นี้ เขาจะเรียกเป็น "เกลือ" หรือ "salt" ชนิดหนึ่งนะคะ
พูดถึง salt ก็แสดงว่าเกี่ยวข้องกับการแตกตัวให้ประจุบวก ประจุลบ แสดงถึงความมีขั้ว(Polar) อะไรที่ขั้วเหมือนกัน
ก็จะเข้าพวกกันได้  ถ้าต่างกันก็อยู่ด้วยกันไม่ได้นะ  เช่น น้ำ+น้ำมัน โดยทั่วไปจะเห็นมันแยกชั้นเพราะน้ำมันไม่มีขั้ว
แต่น้ำมีขั้ว ก็ต่างคนต่างอยู่ไป  (แต่ใช่ว่าจะไม่ละลายกันเสียทีเดียว ขึ้นอยู่กับ degree ความมีขั้วของสารแต่ละประเภท
ด้วย เช่น น้ำมันเบนซีนละลายน้ำได้บางส่วน)

แต่โมเลกุลของสบู่เนี่ยไม่ธรรมดานะพี่น้อง เพราะมันมีทั้งส่วนที่มีขั้วและไม่มีขั้วอยู่ในโมเลกุลเดียวกัน เรียกว่า
2 in 1 น่ะ

แล้วแกจะเอายังไงกับชีวิตล่ะเนี่ย...

มันก็เลยจำต้องแสดงพฤติกรรมแบบรักพี่เสียดายน้องค่ะ  คือเมื่อเราใช้สบู่อาบน้ำ โมเลกุลสบู่จะหันส่วนหัวกลมซึ่งมีขั้ว
เข้าหาน้ำ    ส่วนหางยาวๆ นั่นก็จะจับกับสิ่งสกปรกเช่นพวกน้ำมันที่อยู่บนผิวหนังเราซึ่งไม่มีขั้ว    มองคล้ายๆ กับว่า
มันทำหน้าที่เหมือนสะพานเชื่อมระหว่างน้ำกับสิ่งสกปรก(หรือน้ำมันบนตัวเรา) นั่นเอง

แต่ถ้าบ้านเราเป็นน้ำบาดาลหรือเป็นน้ำกระด้าง โมเลกุลสบู่จะเดี้ยงสนิท   แคลเซียม , แมกนีเซียม ซึ่งมีอยู่ปริมาณมาก
ในน้ำกระด้าง จะไปขัดขวางการทำงานของมันโดยเข้าไปจับคู่กับส่วนหางยาวๆ เกิดเป็นสารที่ละลายได้ยากมากๆ
ก็เลยมองเห็นเป็นตะกอนที่เราเรียกกันว่าไคลสบู่นั่นแหละค่ะ

หลังจากนี้ หากเราทำสบู่ซัก Batch นึง  ลองจินตภาพตามไปด้วยก็ได้นะคะว่า มีเกิดอะไรขึ้นในหม้อกวนสบู่ของเรา

หวังว่าวันนี้คงจะได้ความรู้กันพอหอมปากหอมคอนะคะ

เจอกันใหม่เมื่อชาติต้องการจ้า

   
 

มีนาคม 54

 
หน้าบ้าน
Soap Station
.:: The Must Stop Place for Soaper ::.