Line ID : soapstation
Soapstation Facebook Soapstation.info
   
หน้าบ้าน สินค้าและบริการ วิธีการสั่งซื้อ มุมแบ่งปัน ติดต่อเรา
หน้าบ้าน สินค้าและบริการ วิธีการสั่งซื้อ มุมแบ่งปัน ติดต่อเรา
 
 
       

สินค้ามาใหม่
Single Mold
Tray Mold
Loaf Mold
Soap Stamp
ที่ตัดสบู่
อุปกรณ์
วัตถุดิบ
สารเติมแต่ง
สมุนไพร
น้ำหอม,น้ำมันหอมระเหย
Colorants
บรรจุภัณฑ์
สิีนค้าอื่นๆ
สินค้าลดราคา
สินค้าทั้งหมด

.................................................

ค้นหาพัสดุไปรษณีย์
 

Kerry express

ค้นหาพัสดุ JT express

NIM Express
...............................................

สีสะท้อนแสง
 

สีน้ำสบู่ MP

Line-SoapStation

   
 
Trace เร็วไป ทำไงดีหว่า ? (ตอนที่ 1)
 
 

ถ้าถาม Soaper 100 คนว่า ประสบการณ์อันน่าตื่นตระหนกที่สุด สำหรับนักกวน (สบู่) คืออะไร
เชื่อว่า 99 คนจะไม่คิด แต่ตอบทันทีว่า มันคือตอนที่สบู่แข็งคาหม้อน่ะแหละ ทำเอา Panic สุดๆ...
เหมือนเป็นโปรแกรมภาคบังคับยังไงไม่รู้เนอะที่ Soaper ทุกคน ยังไงก็ต้องเคยเจอประสบการณ์นี้  

บางคนอาจเถียงว่า ไม่เค๊ยไม่เคยล่ะ ทำสบู่ทีไรสวยตลอด
ก็ขอชักชวนให้รนหาประสบการณ์ "สบู่แข็งคาหม้อ"  ดูสักครั้ง ชีวิตจะมีสีสันขึ้นอีกเยอะเลยค่ะ

                                                                               

           ก่อนอื่นขอแนะนำคำว่า Trace ก่อน
                ว่ากันตามตัวหนังสือ Trace แปลว่าร่องรอย , หลักฐานที่ทิ้งไว้ให้เห็น ทำนองนี้แหละค่ะ
                     หนังฝรั่งเรื่อง Without a Trace ก็มีนะ แปลดาดๆ เลยว่า ปราศจากร่องรอย..นั่น
                          ดังนั้น เมื่อสบู่ Trace ก็คือสถานะที่เนื้อสบู่ข้น เมื่อยกที่กวนขึ้นจะเห็นเป็นรอยนูนแบบในรูปนี้

                                                          soapmaking basic6

การกวนสบู่ ถ้าข้นหรือ Trace เร็วไปจะเทลงแม่พิมพ์ไม่ทัน  อาจเกิดจากหลายปัจจัย ที่เจอบ่อยคือน้ำหอมที่ใช้เป็นตัว
เร่ง Trace หรือเร่งการข้นของสบู่

             

            หลังจากค้นในตำราของปู่ฤาษีเจ้าเก่า  ก็เห็นว่ามีกล่าวพาดพิงไว้อยู่กะจึ๊งนึง เกี่ยวกะเรื่อง Trace เนี่ย
ตำราบอกว่า แม่นาง Ann Bramson น่าจะเป็นคนชักนำคำว่า "Trace" เข้ามาสู่วงการ Soaper เป็นคนแรกตั้งกะปี 1972
ที่ต้องทำ Researh หาต้นตระกูลเพราะอยากรู้ว่า  ที่สอนต่อๆ กันมาเรื่องทำสบู่เนี่ย มีบอกไว้ตรงไหนหรือระบุไว้อย่างไร
ในเรื่องที่ต้องกวนสบู่จน Trace เนี่ย

ก็ปรากฏว่าตำราโบราณก่อนหน้าปี 1972 ล้วนแต่อธิบายไว้คล้ายๆ กัน คือต้องผสมจนกระทั่งลากเส้นสบู่เป็นวงกลมได้
โดยไม่หายไป , หรือใช้คำว่า ส่วนผสมนั้นต้อง "หนา" ขึ้น (Thick) ฯลฯ  จนกระทั่งแม่นาง Bramson มาบอกว่า จะต้องผสม
สบู่จนกระทั่งสามารถวาดรูปดาวหรือเส้นอะไรก็ได้  โดยที่เห็นร่อยรอง (Trace) ของมันได้ชัดเจนบนผิวหน้าสบู่ นั่นแหละค่ะ

โดยสรุปก็คือ น่าจะเกือบทุกตำรา(มั้งนะ) บอกว่าต้องกวนสบู่จน Trace ถึงจะใช้ได้

แต่เรื่องของเรื่องคือ  อุตส่าห์เตรียมตัวอย่างดีแล้ว เครื่องมืออุปกรณ์ก็พร้อม วางแผนล่วงหน้าไว้ 4 เดือนก็แล้ว พอลงมือกวนสบู่
แป๊ก! แข็งคาหม้อกวนเป็นรอบที่ 999...

อย่าให้มันถึงขนาดนั้นเลย  อย่าเพิ่งท้อ..อย่าเพิ่งเหนื่อย...  เพราะจริงๆ แล้วมันพอจะมีวิธีชะลอ Trace ได้บ้างนะรู้ป่ะ ^^
(ขอย้ำ!! ได้แค่ "ชะลอ" แต่ไม่ได้แก้ไขไม่ให้ Trace นะเออ)

                                                                              

          1). หลีกเลี่ยงการใช้หัวน้ำหอมที่เร่ง Trace : อันนี้มันก็แน่อยู่แล้ว

          2). หากไม่สามารถเลี่ยงการใช้หัวน้ำหอมที่เร่ง Trace ได้ ให้เติมลงไปช่วงเริ่มต้น : อันนี้ทดลองแล้ว
เทลงไปผสมกะน้ำมัน ก่อนเทโซดาไฟเลย (ตอนผสมน้ำมันและโซดาไฟไม่ต้องให้ร้อน ยิ่งเย็นยิ่งดี) กลิ่นก็ยังคงอยู่ดี
และช่วยให้เรามีเวลาจัดการกะมันได้มากขึ้นอีกหน่อย  แต่ถึงกระนั้นเราก็ยังต้องเตรียมเครื่องมือ-อุปกรณ์ให้พร้อม
และกวนสบู่-เทลงพิมพ์ด้วยความรวดเร็วพอสมควร

          3). เริ่มต้นกวนสบู่ที่อุณหภูมิต่ำ : อันนี้ตำราเขียนไว้และทดลองให้ดูด้วยว่า เมื่อลองกวนสบู่ ที่ตั้งสูตรมาจาก
น้ำมัน 4 ชนิดผสมกันคือ มะกอก,มะพร้าว,ละหุ่ง,ปาล์ม  โดยควบคุมปัจจัยอื่นๆ ให้เหมือนกันทุกอย่างเท่าที่จะทำได้
(เช่น อัตราการกวนสบู่) ยกเว้น อุณหภูมิตั้งต้นของน้ำมันกับโซดาไฟ  พบว่าที่อุณหภูมิตั้งต้น 40,50 และ 60 °C จะใช้
เวลากวนสบู่จน Trace เท่ากับ 24,12 และ 5 นาที ตามลำดับ (โดยประมาณ)  แปลได้ว่าเริ่มต้นผสมที่อุณหภูมิต่ำ จะยืด
เวลา Trace ได้ค่ะ

          4). กวนสบู่ช้าๆ และเบาๆ : ปฏิกิริยา Saponification จะเกิดระหว่างผิวของหยดน้ำมันและหยดโซดาไฟที่
สัมผัสกัน จุดประสงค์ของการกวนก็เพื่อให้ทั้งน้ำมันและโซดาไฟเป็นหยดที่เล็กที่สุดและสัมผัสกันได้มากที่สุดนั่นเอง
การใช้สากไฟฟ้าปั่น หยดน้ำมันและโซดาไฟก็จะโคตรเล็กและโมเลกุลจะสัมผัสกันได้ดีมาก เป็นเหตุให้ Trace เร็วกว่า
การใช้ตะกร้อมือค่ะ  ดังนั้นถ้าอยากชะลอการ Trace ใช้สากไฟฟ้าแค่ช่วงแรกก่อน หลังจากนั้นใช้มือคน หรือจะไม่ใช้
สากไฟฟ้าเลยก็ได้

          5). หลีกเลี่ยงส่วนผสมที่มี Eugenol เป็นองค์ประกอบ : ข้อนี้มีการทดสอบและสรุปผลว่า เนื่องจาก Eugenol
เมื่อเจอกับโซดาไฟจะกลายเป็น Sodium eugenolate ซึ่งเร่งกระบวนการ Trace  สารที่มี Eugenol ก็เช่น กานพลู,อบเชย

          6). เพิ่มสัดส่วนน้ำในสูตร : ข้อนี้ตำราบอกว่าให้ผลไม่ค่อยแน่นอนเท่าไหร่ แต่พอจะมีแนวโน้มว่าช่วยชะลอ
Trace ได้   ส่วนใหญ่เราใช้การปรับสัดส่วนน้ำก็เพื่อควบคุมการ Gel ของสบู่มากกว่าค่ะ

                                                                                

พอจะมีฟามหวังกันขั้นมาบ้างแล้วใช่มะล่า ^^
แต่ถ้าทำจนครบทั้ง 6 ข้อแล้วก็ยังไม่รอดนะ   ก็อย่าเพิ่งท้อ..อย่าเพิ่งเหนื่อย... เพราะเรายังมีก๊อกสอง!!

คราวหน้าตอนจบ จะมาคิดแหกคอกว่า....
ถ้าต้องกวนสบู่ให้มัน Trace แล้วกลับแข็งโป๊กทุกที  งั้นไม่รอให้มัน Trace  เทลงพิมพ์พรวดเลยได้ป่ะ???

เออ...ถามได้ดี เอาไปบาทนึง ^^
มาฟังคำตอบกันครั้งหน้าจ้า

 

เมษายน 56

 

 

 
หน้าบ้าน
Soap Station
.:: The Must Stop Place for Soaper ::.